วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

10 อันดับผลไม้กินแล้วไม่อ้วน

10 อันดับผลไม้กินแล้วไม่อ้วน
ผลไม้ 10 ชนิดต่อไปนี้ จัดเป็นผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินและเกลือแร่ และ กินได้บ่อยๆ แบบไม่ต้องกลัวอ้วน ทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์และเพิ่มภูมิคุ้มกันอีกด้วย ผลไม้ทั้ง 10 ชนิดนี้มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตเฉลี่ย 1.9 – 10 กรัมต่อน้ำหนัก 100 กรัม โดยอะโวกาโดมีคาร์โบไฮเดรตต่ำสุด แอปเปิลมีคาร์โบไฮเดรตสูงสุด
  1. กีวี - มีสารแอกทินิดีน ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันทำให้หัวใจแข็งแรง
  2. มะเขือเทศ - ช่วยลดความเสียงจากมะเร็งและโรคหัวใจ
  3. มะละกอ – ช่วยย่อยอาหารและโปรตีน
  4. อะโวกาโด – ช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็งชนิดต่างๆ ได้ถึง 30 ชนิด
  5. สับปะรด – ช่วยต้านเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
  6. ผลไม้จำพวกเบอร์รี่ – เช่น สตอเบอร์รี่ แบลคเบอร์รี่ ผลไม้กลุ่มนี้ดีต่อระบบไหลเวียนโลหิต
  7. แครนเบอร์รี่ – ช่วยป้องกันนิ่วในไต ต้านเชื้อไวรัส
  8. ผลไม้ตระกูลส้ม – ช่วยลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเส้นเลือด
  9. ผลไม้กลุ่มแตง – มีสรรพคุณสูงสุดในการล้างพิษให้กับร่างกาย
  10. แอปเปิ้ล – ช่วยทำความสะอาดระบบย่อยอาหาร


แหล่งที่มา http://www.kroobannok.com/blog/26983 วันที่ 31 มกราคม 2556

ประโยชน์ของฟ้าแลบ

ประโยชน์ของฟ้าแลบ
สถานีกรมอุตุนิยมวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกาประมาณไว้ว่า ในระยะเวลา 1 ปี ฟ้าแลบทำให้ไนโตรเจน
ตกลงมายังพื้นดิน 2 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ไร่ เมื่อคิดทั้งโลกจะมีไนโตรเจนตกลงมายังโลกถึง 770 ล้านตันต่อปีในระหว่างที่เกิดฟ้าแลบ พลังงานบางส่วนจากฟ้าแลบจะทำให้ไนโตรเจนทำปฏิกิริยาเคมีกับออกซิเจนเกิดเป็นสารประกอบไนโตรเจนมอนอกไซด์ (NO) สารประกอบนี้มีไนโตรเจน 1 อะตอม และออกซิเจน
1 อะตอม มันจะดูดออกซิเจนอีก 1 อะตอมเพิ่มเข้าไป และกลายเป็นไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
ซึ่งละลายได้ในน้ำฝนกลายเป็นกรดดินประสิว (HNO3) ตกลงมายังพื้นโลก เมื่อกรดดินประสิวรวมตัวกับสารเมื่อกรดดินประสิวรวมตัวกับสารเคมีอื่น ๆ จะได้เป็นเกลือไนเตรตซึ่งเป็นอาหารที่ดีของพืชดังนั้น ถึงคนขวัญอ่อนจะไม่ค่อยชอบฟ้าแลบนัก แต่ก็ควรทำใจสักนิดให้ชอบสักหน่อยเพราะมีผลดีต่อชาวนาที่ผลิตพืชผักผลไม้มาให้เรากินอยู่ทุก ๆ วัน
 
 แหล่งที่มา  http://www.tpschool.net/main/science/43-detailscience  วันที่ 31 มกราคม 2556

การเกิดรุ่งกินน้ำ

รุ้งกินน้ำ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นหลังจากฝนตก โดยเกิดขึ้นจากแสงแดดส่องผ่านละอองน้ำในอากาศ ทำให้แสงสีต่าง ๆ เกิดการหักเหขึ้น จึงเห็นเป็นแถบสีต่าง ๆ ปรากฏขึ้นบนท้องฟ้า รุ้งปฐมภูมิจะประกอบด้วยสีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง โดยมีสีม่วงอยู่ชั้นในสุดและสีแดงอยู่ชั้นนอกสุด ส่วนรุ้งทุติยภูมิจะมีสีเช่นเดียวกันแต่เรียงลำดับในทิศทางตรงกันข้าม
การมองเห็น
   
 
ลักษณะการเกิดรุ้งกินน้ำ
เราสามารถมองเห็นรุ้งกินน้ำได้เมื่อมีละอองน้ำในอากาศและมีแสงอาทิตย์ส่องมาจากด้านหลังของผู้สังเกตการณ์ในมุมที่สูงจากพื้นไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่รุ้งกินน้ำจะปรากฏให้เห็นชัดเจนเมื่อท้องฟ้าส่วนมากค่อนข้างมืดครึ้มด้วยเมฆฝน ส่วนผู้สังเกตการณ์อยู่ในที่พื้นที่สว่างซึ่งมีแสงส่องจากดวงอาทิตย์ จะทำให้มองเห็นรุ้งกินน้ำพาดผ่านฉากหลังสีเข้ม
ปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำยังอาจพบเห็นได้ในบริเวณใกล้กับน้ำตกและน้ำพุ หรืออาจสร้างขึ้นเองได้โดยการพ่นละอองน้ำไปในอากาศกลางแสงแดด รุ้งกินน้ำยังอาจเกิดจากแสงอื่นนอกจากแสงอาทิตย์ ในคืนที่แสงจันทร์มีความสว่างมากๆ อาจทำให้เกิดรุ้งกินน้ำก็ได้ เรียกว่า moonbow แต่ภาพรุ้งที่เกิดขึ้นจะค่อนข้างจางมองเห็นได้ไม่ชัด และมักมองเห็นเป็นสีขาวมากกว่าจะเห็นเป็นเจ็ดสี
การถ่ายภาพวงโค้งสมบูรณ์ของรุ้งกินน้ำทำได้ยาก เพราะจำเป็นต้องกระทำในมุมมองประมาณ 84° ถ้าใช้กล้องถ่ายภาพแบบปกติ (35 mm) จะต้องใช้เลนส์ขนาดความยาว 19 mm หรือเลนส์ไวด์แองเกิลจึงจะใช้ได้ ถ้าผู้สังเกตการณ์อยู่บนเครื่องบิน อาจมีโอกาสมองเห็นรุ้งกินน้ำแบบเต็มวงได้ โดยมีเงาของเครื่องบินอยู่ที่ศูนย์กลางวง โดยรุ้งกินน้ำนั้น สีที่เราเห็นมักจะมองเห็นไม่ครบ 7 สี เพราะ สีบางสีจะกลืนซึ่งกันและกัน
แสงที่เกิดเป็นรุ้งนั้นคือแสงขาว และเกิดการหักเหจนเกิดเป็นแถบสี7แถบ โดยสีม่วงจะมีการหักเหมากที่สุด สีแดงมีการหักเหน้อยทีสุด

แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3 วันที่ 31 มกราคม 2556

การเจริญเติบโต

การเจริญเติบโต
การเจริญเติบโต เป็นขวนการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตทุกระดับ ทั้งทางโครงสร้างและหน้าที่ กระบวนการต่างๆ ของการเจริญเติบโต แบ่งได้เป็นขั้นตอนง่ายๆ คือ

1. การเพิ่มจำนวนเซลล์

ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว การแบ่งเซลล์ถือว่าเป็นการสืบพันธุ์ เกิดชีวิตใหม่ขึ้น มี หลายแบบ เช่น การแบ่งแยกตัวเป็นส่วนๆ การแตกหน่อเป็นต้น

ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ การแบ่งเซลล์เป็นการเพิ่มจำนวนเซลล์ให้มากขึ้น เช่น การแบ่งเซลล์จากตัวอ่อนเป็นตัวเต็มวัย สร้างเซลล์ใหม่เพื่อทดแทนเซลล์เก่า เช่น เซลล์ผิวหนัง
 
 
2. การเพิ่มขนาดเซลล์
เป็นกระบวนการสะสมและสังเคราะห์สารอินทรีย์ภายโมเลกุลของเซลล์ ทำให้โมเลกุลมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือมีการรวมกันระหว่างโมเลกุลกับโมเลกุล เป็นผลให้เซลล์ต้องขยายขนาดตามไปด้วย จึงเกิดการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต เช่นงูจะมีการลอกคราบเมื่อมีขนาดตัวใหญ่ขึ้น
 





 3. การเปลี่ยนแปลงสภาพของเซลล์
เนื่องจากในระยะแรกเซลล์อาจจะทำหน้าที่อย่างหนึ่งแต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่การทำงาน จึงเกิดการเปลี่ยนสภาพเซลล์ตามไปด้วยเพื่อให้ได้เซลล์ที่สามารถทำหน้าที่ที่ต่างกัน การเปลี่ยนสภาพเกิดทั้งทางกายภาพและชีวเคมี ทั้งในระดับโมเลกุล ระดับเซลล์ ระดับเนื้อเยื่อ ระดับอวัยวะ และระดับระบบอวัยวะ เซลล์ที่ได้ใหม่จะมีหน้าตาต่างไปจากเซลล์เดิม
 


แหล่งที่มา http://www.school.net.th/schoolnet/article/read.php?article_id=550 วันที่ 31 มกราคม 2556
 

อาหารหลัก 5 หมู่

อาหารหลัก 5 หมู่ อาหารเป็นแหล่งพลังงานและทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้ากินถูกสัดส่วนและครบทุกหมู่ โดยสารอาหารนั้นมี 5 ชนิด แต่ละชนิดนั้น จะมีมากในอาหารแต่ละชนิด เราจะแยกอาหารที่มีสารอาหารเหมือนกันมาไว้ด้วยกัน เพื่อง่ายในการจดจำ ดังต่อไปนี้
อาหารหลัก 5 หมู่ แยกออกได้ดังนี้

1. เนื้อ นม ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง และงา เป็นอาหารประเภทโปรตีน
บทบาทของโปรตีน
- สร้างเซลล์เนื้อเยื่อและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- เป็นส่วนประกอบหลักของทุกเซลล์ในร่างกาย
- เพิ่มภูมิคุ้มกัน และถ้าได้รับโปรตีนและไขมันที่จำเป็นในปริมาณที่พอเหมาะจะทำให้เยื่อหุ้มเซลล์มีความแข็งแรงมากขึ้น
ถ้าขาด โปรตีน หรือได้รับโปรตีนน้อยกว่าความต้องการ
- ทำให้แก่ก่อนวัยอันควร และร่างกายทำงานผิดปกติ

2. แป้ง เผือก มัน ข้าว และน้ำตาล เป็นอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรท
บทบาทของคาร์โบไฮเดรท
- เป็นแหล่งพลังงานที่ร่างกายเลือกใช้เป็นอันดับแรก
- เป็นพลังงานชนิดเดียวเท่านั้นที่สมองใช้

3. ผักชนิดต่าง เป็นอาหารประเภท วิตามิน และแร่ธาตุ
บทบาทของวิตามิน
- เป็นตัวช่วยในการนำเอา โปรตีน คาร์โบไฮเดทและไขมัน เปลี่ยนไปเป็นพลังงาน
- ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- ช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตและพัฒนาการ
บทบาทของแร่ธาตุ
- มีบทบาทสำคัญในการเจริญเติบโต
- พัฒนากระบวนการทางชีวภาพของกระดูกกล้ามเนื้อ และสมอง การผลัดเซลล์ การสร้างเซลล์ใหม่ การสร้างเลือด การเผลาผลาญอาหาร เป็นต้น
ซึ่งวิตามิน เป็นสารที่มีมากในผักชนิดต่าง ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อยแต่ขาดไม่ได้
ถ้าขาด วิตามินและแร่ธาตุ จะทำให้ร่างกายทำงานไม่ปกติ หรือด้อยสมรรถภาพลง เช่น ตาฝ้าฟาง เพราะขาดวิตามินเอ เป็นต้น

4. ผลไม้ชนิดต่างๆ เป็นอาหารประเภท วิตามิน และแร่ธาตุ
บทบาทของวิตามิน
- เป็นตัวช่วยในการนำเอา โปรตีน คาร์โบไฮเดทและไขมัน เปลี่ยนไปเป็นพลังงาน
- ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- ช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตและพัฒนาการ
บทบาทของแร่ธาตุ
- มีบทบาทสำคัญในการเจริญเติบโต
- พัฒนากระบวนการทางชีวภาพของกระดูกกล้ามเนื้อ และสมอง การผลัดเซลล์ การสร้างเซลล์ใหม่ การสร้างเลือด การเผลาผลาญอาหาร เป็นต้น
ซึ่งวิตามิน เป็นสารที่มีมากในผลไม้ชนิดต่าง ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อยแต่ขาดไม่ได้
ถ้าขาด วิตามินและแร่ธาตุ จะทำให้ร่างกายทำงานไม่ปกติ หรือด้อยสมรรถภาพลง เช่น ตาฝ้าฟาง เพราะขาดวิตามินเอ เป็นต้น

5. ไขมัน
บทบาทของไขมัน
- เป็นแหล่งสะสมพลังงานของร่างกาย
- ช่วยดูดซึมวิตามินชนิดละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค
แบ่งได้เป็นสองชนิด คือ
- ไขมันดี โดยไขมันดีจะอุดมไปด้วยกรดไขมันจำเป็น ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาใช้เองได้ จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต และพัฒนาการ มีมากในปลา ผัก ถั่ว และเมล็ดธัญพืช
- ไขมันร้ายพบมากใน เนื้อ ขนมบรรจุ ขนมอบ บรรจุห่อ ที่ใช้น้ำมันทอด ซึ่งทำให้ระดับคอเลสเตอรอล ในเลือดสูงทำให้เป็นโรคหัวใจได้
แหล่งที่มา http://www.dreampoem.com/forum/index.php?topic=16281.0 วันที่ 31 มกราคม 2556